มุขยะ อุปนิษัท ของ อุปนิษัท

มุขยะ อุปนิษัท (มุขฺย อุปนิษทฺ) เป็นคำเรียกคัมภีร์อุปนิษัทกลุ่มหนึ่ง มีด้วยกัน 10 เล่ม จากอุปนิษัททั้งหมด 108 เล่ม นับเป็นอุปนิษัทที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งศังกราจารย์ นักปราชญ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ได้กล่าวถึงไว้ คำว่า "มุขยะ" ในภาษาสันสกฤต หมายถึง หลัก หัวหน้า หรือโดดเด่น "มุขยะ อุปนิษัท" จึงหมายถึง อุปนิษัทหลัก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ยังมีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทโศปนิษัท หรือ อุปนิษัททั้งสิบ คัมภีร์เหล่านี้ชาวฮินดูยอมรับว่าเป็นศรุติ (คัมภีร์ที่เกิดจากการฟังมาจากพระเจ้า) โดยมีรายชื่อดังนี้ (ในวงเล็บ คือชื่อพระเวทที่เกี่ยวข้องของอุปนิษัทนั้นๆ)

  1. อีษา อุปนิษัท "ผู้ปกครองภายใน" (ศูกล ยชุรเวท)
  2. เกนะ อุปนิษัท "ใครย้ายโลก" (สามเวท)
  3. กถะ อุปนิษัท "ความตายเป็นครู" (กฤษณะ ยชุรเวท)
  4. ปรัสนะ อุปนิษัท "ลมหายใจของชีวิต" (อาถรรพเวท)
  5. มุณฑกะ อุปนิษัท "การรับรู้สองอย่าง" (อาถรรพเวท)
  6. มาณฑูกยะ อุปนิษัท "จิตสำนึกและช่วงต่าง" (อาถรรพเวท)
  7. ไตติรียะ อุปนิษัท "จากอาหาร สู่ปีติ" (กฤษณะ ยชุรเวท)
  8. ไอตเรยะ อุปนิษัท "ตัวตนและอาตมันของมนุษย์" (ฤคเวท)
  9. ฉานโทคยะ อุปนิษัท "บทเพลงและการสังเวย" (สามเวท)
  10. พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท (ศูกล ยชุรเวท)

เมื่อพิจารณาในทางภาษาศาสตร๋ พบว่าคัมภีร์ที่เก่าที่สุด (พฤหทารัณยกะ และฉานโทคยะ) อยู่ในยุคพราหมณะ ของภาษาสันสกฤตสมัยพระเวท ก่อนสมัยปาณินิ ส่วนคัมภีร์ยุคกลาง (กฐะ) อยู่ในยุคสูตระ ของภาษาสันสกฤตสมัยพระเวทยุคหลัง ร่วมสมัยกับปาณินิ และคัมภีร์ใหม่สุดในจำนวนนี้ อยู่ในช่วงต้นของภาษาสันสกฤตแบบแผน ร่วมสมัยกับคัมภีร์ภควัทคีตา (คือราว 4 ศตวรรษก่อนคริสตกาล จนถึงสมัยเมารยัน หรือเริ่มคริสตกาล)